สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทย

สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทย

จากการรายงานยอดผู้ใช้บริการมือถือโดยนับเฉพาะผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายใหญ่ของประเทศไทยได้แก่ AIS, dtac และ TrueMove พบว่าในไตรมาสสุดท้ายของปี 2011 นั้นยอดผู้ใช้งานรวมทั้งสิ้น 75.35 ล้านรายโดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้

ซึ่งตัวเลขจากการรายงานของกระทรวง ICT ที่มียอดของ TOT และผู้ให้บริการรายอื่น(MVNO) เข้าไปด้วยนั้นจะมียอดผู้ใช้งานมือถืออยู่ที่ 75.5 ล้านรายในปี 2011 และเมื่อย้อนไปในปี 2001 (10 ปีย้อนหลัง) พบว่ายอดผู้ใช้มีอยู่เพียง 7.5 ล้านรายนับว่าประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของคนใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 100% เลยทีเดียว ในขณะที่ประชากรของประเทศไทยอยู่ที่ราว 67.7 ล้านคนนั่นหมายความว่ายอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือของไทยเทียบกับจำนวนประชากรนั้นอยู่ที่ 109% โดยมีอัตราการใช้งานหลายเบอร์ Multiple SIM สูงถึง 35% และมีผลสำรวจตัวเลขแยกเฉพาะผู้ใช้งานมือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนออกมาพบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่เป็นผู้หญิงสูงถึง 56% มากกว่าผู้ชายที่มีอยู่ที่ 44% (ผลสำรวจจาก Nielsen)

ภาพรวมของอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้านเสียง (Voice) พบว่ามีแนวโน้มของราคาค่อนข้างทรงตัว โดยอัตราค่าบริการปรับลดต่ำลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีราคาเฉลี่ย 0.54 บาทต่อนาทีโดยลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (0.57 บาทต่อนาที) และไตรมาสที่แล้ว (0.55 บาทต่อนาที) dtac เป็นผู้ให้บริการที่มีค่าบริการต่ำที่สุดและอัตราค่าบริการเฉลี่ยเท่ากับไตรมาสที่ผ่านมา นาทีละ 0.45 บาท ขณะที่ AIS มีค่าบริการเฉลี่ยสูงกว่า dtac เล็กน้อยที่นาทีละ 0.48 บาท ในขณะที่ TrueMove ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ค่าบริการเฉลี่ยสูงสุดมีราคาเฉลี่ยเท่ากับ 0.70 บาทต่อนาที (ไตรมาส 2 ปี 2011)

รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเลขหมายของบริการโทรศัพท์มือถือ

ภาพรวมของอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้านเสียงและบริการด้านข้อมูลใน ไตรมาส 2 ปี 2011 ลดลงอย่างต่อเนื่องในอัตราคงที่จากไตรมาสก่อน โดยผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังคงเน้นการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายรูปแบบ Bundle services และทำตลาดในกลุ่มลูกค้าผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนซึ่งมีความพร้อมในการใช้งาน (วัยรุ่น และวัยทำงาน) เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มีทั้งความรู้ในการใช้งานและมีกำลังในการใช้จ่าย ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับประโยชน์จากอัตราค่าบริการที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้บริการรายการส่งเสริมการขายที่รวมบริการด้านเสียงและข้อมูลไว้ด้วยกัน เนื่องจากจะได้อัตราค่าบริการที่ถูกกว่าและสิทธิประโยชน์ในการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้ใช้บริการยังจะได้รับคุณภาพบริการที่ดีขึ้นซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันของผู้ให้บริการที่เน้นการแข่งขันทางด้านคุณภาพการให้บริการเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้อีกด้วย ที่มา: สำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา สำนักงาน กสทช. หมายเหตุ: ไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2554 เป็นการคาดการณ์

สรุปภาพรวมผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยยังคงเน้นรายการส่งเสริมการขายที่นำเสนอการใช้บริการด้านข้อมูล (Data service) เป็นหลัก ในขณะที่รายการส่งเสริมการขายที่ใช้บริการด้านเสียง(Voice service) มีแนวโน้มลดลงซึ่งเป็นผลมาจากผู้ให้บริการส่วนใหญ่รับรู้ถึงการเติบโตของรายได้บริการด้านข้อมูล เช่น จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการแอพพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก เมื่อวิเคราะห์จากราคาโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ลดต่ำลงและจำนวนยอดขายคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อฐานลูกค้าที่สามารถใช้บริการได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับในช่วงครึ่งปีหลังผู้ให้บริการจะเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 3G ในหลายพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อศักยภาพในการให้บริการ และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีการแข่งขันในการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงร่วมกับบริการประเภทอื่น (Bundle service) ยกตัวอย่างเช่น ร่วมกับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการ Net sim หรือแม้กระทั่งบริการ WiFi hotspot เพื่อตอบสนองรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของผู้คนที่ต้องการการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในทุกๆ ที่ และทุกช่วงเวลา

Comments

Post Comments