software-developer-คืออะไร-มีหน้าที่อะไร-รวมทักษะพื้นฐานก่อนทำงาน
ในปัจจุบันกลุ่มสายไอทีหรือเทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งเป็นสายอาชีพที่มีความต้องการสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อัตรารายได้สูง และที่สำคัญบุคลากรในสายไอที ยังคงมีไม่เพียงต่อตลาด และ Software developer คือ หนึ่งในกลุ่มงานสายไอที ที่เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคต

ซึ่งหลายคนในตอนนี้อาจจะสงสัยว่า Software developer คืออะไร? Software developer คือ ผู้ที่ความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งมักเชี่ยวชาญในภาษาเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ซึ่ง Software developer มีหน้าที่ ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมเป็นแต่จะต้องรู้จักคิดนอกกรอบ อย่างการติดตั้งวางระบบหรือออกแบบกำหนดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ได้ละเอียด เพราะ ขอบเขตการทำงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรมธรรมดา ส่วนทักษะพื้นฐานที่ควรมีคือ ภาษา C, C+, Java, COBAL, IOS, Android , Java, Python, Lisp
โปรแกรมเมอร์ หรือ นักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่เขียนโปรแกรมทั่วๆไป โดยอาจมีประสบการณ์อย่างน้อย 2-3 ภาษา (ภาษาในโปรแกรมที่ใช้ เช่น ภาษา HTML, ภาษา CSS หรือ ภาษา Python) ปัจจุบันก็จะเป็นลักษณะนี้ ลักษณะงาน coding โปรแกรมอย่างเดียว สามารถรู้ Algorithm แม้จะดูคล้ายกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์หรือ Developer แต่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างละเอียดเท่า
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จะมีหน้าที่สามารถเขียนและสร้างซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ วางแผน เขียนโค้ด รวมทั้งบริหารโปรเจคให้ผ่านไปด้วย สมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งมักมีความรับผิดชอบมากกว่า Coder และมีการแบ่งแยกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในด้านเดียวหรือมากกว่า จนหลายคนมองว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ เก่งและเป็นมืออาชีพมากเนื่องจากทำงานได้ทุกขั้นตอนโดยคนเดียว
โปรแกรมเมอร์ คือ คนเขียนโปรแกรม มีความเข้าใจใน code และเชี่ยวชาญการเขียน code ส่วน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความรู้หลากหลายกว่า รู้วิธีการเขียน code และเขียน code แต่บางที code ไม่ได้เก่งเท่า โปรแกรมเมอร์ ทำให้หลายคนเข้ามาสู่อาชีพนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้บ่งบอกว่า โปรแกรมเมอร์ จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเก่งกว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะขึ้นอยู่กับความคร่ำหวอดในการเขียนโปรแกรมมากกว่า
ซึ่งนอกจากจะต้องมีสกิลการเขียนโปรแกรมที่เชี่ยวชาญแล้ว ในปัจจุบันมีความต้องการ Software Developer ที่มีหน้าที่ทำอย่างอื่นเช่นการวิเคราะห์โปรแกรมหรือการออกแบบโครงสร้างของโปรแกรมแต่ Developer ที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้มีแค่เพียงทักษะ Coding อย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆด้วย
เมื่อพูดถึงทักษะพื้นฐานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ software developer หลายคนมักจะลืมนึกถึงทักษะด้านอารมณ์ หรือ ซอฟต์สกิล นั่นเอง ซึ่งทักษะนี้เองจะทำให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ คนนั้นมีความเติบโตอย่างรวดเร็วและดูโดดเด่นกว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์คนอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าในตลาดและเปิดประตูทุกบานให้ตัวเอง มาดูกันเถอะว่ามีทักษะไหนที่เราควรเรียนรู้ไว้
• โปรแกรมเมอร์ เป็นคนเก่ง มีพรสวรรค์ทางด้านการ Coding แต่กลับไม่สามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีมากนัก ดังนั้นการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดีงานของคุณก็จะออกมาดีตามไปด้วย
• การจะเป็นผู้สื่อสารที่ดีได้ คุณต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย โดยเฉพาะการรับข้อมูลจากลูกค้า ถ้าหากคุณเป็นผู้ฟังที่ไม่ดีการเขียนโปรแกรมอาจจะเกิดข้อผิดผลาดได้
• Software Developer ที่มีคุณภาพควรมีความรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด ยอมรับคำวิจารณ์และยินดีที่จะเรียนรู้มันหรือยอมรับ Feedback เพื่อการปรับปรุงจากผู้อื่นช่วยชี้แนะและแก้ไขข้อผิดพลาดนั่นเป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดความอ่อนน้อมถ่อมตน
• Software Developer ควรหาโอกาสฝึกฝนและผลักดันตัวเองให้หนักกว่างานที่ทำในที่ทำงาน ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้จะพัฒนาทักษะให้เฉียบคมอยู่เสมอ
• ตัดสินใจในทางธุรกิจอันเป็นเหตุเป็นผล และสามารถลำดับความสำคัญของงานได้และความสามารถในการทำงานภายใต้แรงกดดัน รวมถึงความตรงเวลาได้ จะทำให้นายจ้างมีความสนใจเราเป็นอย่างมาก
• Software Developer ที่ใส่ใจในรายละเอียด มีแนวโน้มที่จะสามารถเขียน Coding ที่มีคุณภาพสูงออกมาได้ มักมีประโยชน์กว่า คนที่ทำอะไรเร่งรีบหรือทำอะไรชุ่ยๆ
ดังนั้น การรักษาคุณภาพด้วยมาตรฐานเหล่านี้ จะช่วยให้คุณเป็น Developer ที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Developer การมีทักษะทางด้านอารมณ์เหล่านี้ ก็จะทำให้เราดูน่าสนใจขึ้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องยาก แต่มันก็ช่วยได้จริงๆ หากคุณมองว่าเป็นสิ่งที่ดูไม่น่าสนใจก็อาจจะส่งผลในแง่การทำงานเลยทีเดียว
• Containers หรือเครื่องมือที่จะช่วยจัดการบรรจุ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมต่างๆ รวมไปถึง Mobile Application ถือเป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่คุณควรเรียนรู้เอาไว้เพราะในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญ
• เป็นการเขียนโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับ Cloud อย่างแน่นอน โดย Cloud ก็มีให้คุณได้เลือกใช้อยู่หลายๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Amazon Web Services (AWS), Google Cloud Platform (GCP) หรือ Microsoft Azure
• มันคือพื้นฐานของพื้นฐานด้านกระบวนการคิด ที่ต่อให้คุณได้ย้ายไปทำงานที่ไหนก็จะต้องได้ใช้ หรือจะต้องถูกสัมภาษณ์อย่างแน่นอน
• เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องเคยใช้กัน ที่จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถและง่ายต่อการเก็บข้อมูล โดยตลาดปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่กว่า 70%
• IDE จริงๆแล้วย่อมาจาก Integrated Development Environment หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นมาตรฐานตามการใช้งานของคนทั่วไป ในการเขียน Website ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัดที่แตกต่างกันออกไป
• None เป็นสิ่งที่ถือเป็นพื้นฐานแถมอายุอานามมันก็ประมาณ 30 ปีกว่าๆ ได้แล้ว ถือเป็นพื้นฐานด้านการจัดการฐานข้อมูลที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว
• None การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ยิ่งกว่าคำว่าพื้นฐานต้องเรียกว่าอยู่ในสายเลือดของโปรแกรมเมอร์ทุกคนเลยก็ว่าได้
ฉะนั้นเอาเท่านี้ก่อน เราจะรู้ว่า จริง ๆ แล้ว Software developer ไม่ได้มีแค่ในส่วนของการ Coding หรือสร้าง Website เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ทักษะทางด้านอารมณ์ก็สำคัญ เพราะแผนก HR หลายองค์กรเป็นแค่ฝ่ายธุรการ ตามไอทีไม่ทัน เวลาพูดคุยกันเมื่อไม่มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดีก็อาจจะทำให้โดนเขี่ยตกไปได้อย่างน่าเสียดาย ดังนั้นใครคิดว่าตัวเองเก่ง หรือเราเป็นขั้นเทพด้าน Coding แต่ไม่สามารถสื่อสารกับทีมได้หรือไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ ก็เป็นปัญหาในการทำงานได้แต่กลับกัน ถ้าหากเราอาจจะเขียนโปรแกรมได้ค่อยไม่เก่งนัก แต่เรามีทักษะและศักยภาพที่สามารถพูดคุยกับบุคคลอื่น และแก้ไขปัญหาได้ หรือแม้กระทั่งการออกแบบระบบคร่าว ๆ ก็อาจเป็นประโยชน์ให้กับทีมเเละช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้
Comments
Post Comments